วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการติดตั้ง ATutor (ต่อ)

ให้ไปสร้างไดเร็กทอรี่ชื่อว่า content

สร้างไดเร็กทอรีชื่อว่า content ไว้สำหรับเก็บหลักสูตรต่างๆ

หลังการสร้างโฟลเดอร์แล้ว กรณีใช้บนโฮสต์ติ้งจริงต้องเปลี่ยนโหมด (chmod) เป็น 777 ให้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลเข้าไปได้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=99

18. ระบบเขียนคอนฟิกเข้าไปในไฟล์ ../include/config.inc.php
19. คลิกปุ่ม Next

20. ระบบรายงานข้อมูลระบบที่ใช้ติดตั้ง ATutor
21. ให้คลิกปุ่ม Next

22. ระบบรายงานว่าการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
23. คลิกปุ่ม Login เพื่อเข้าระบบ

24. ระบบแสดงเว็บหน้าแรกให้ล็อกอินเข้าระบบ
โดยเราสามารถล็อกอินเข้าระบบโดยชื่อผู้ใช้สองคนคือ ชื่อผู้ดูแลระบบ และชื่ออาจารย์ ที่เราระบุก่อนหน้านี้

กรณีล็อกอินเป็น Admin

กรณีล็อกอินเป็น Instructor

สามารถอ่านคู่มือการติดตั้งเพิ่มเติมได้ในห้อง docs หรือที่ URL : http://www.atutor.ca/atutor/docs/

สรุป
ATutor เป็นเครื่องมือที่นิยมนำมาทำระบบ E-Learning สำหรับใช้งานในโรงเรียน สถาบันการศึกษา บริษัทเอกชน สำหรับในไทยเราเอง ATutor เป็นทูลที่ได้รับความนิยมเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบัน ATutor ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมายรวมทั้งภาษาไทย สามารถดูภาษาที่ ATutor รองรับอยู่ในปัจจุบัน (27/03/48) ที่ http://www.atutor.ca/atutor/translate/ สำหรับ ในที่นี้ผู้เขียนได้อธิบายเฉพาะการติดตั้ง ATotor แบบเดี่ยวๆ เท่านั้น
ปัจจุบันนี้ ATutor สามารถติดตั้งเป็นโมดูลเสริมในระบบ CMS ยอดนิยมอย่าง PostNuke, Mambo สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บท่าของ ATutor คือ ATutor.ca

ขั้นตอนการติดตั้ง ATutor

ขั้นตอนการติดตั้ง ATutor
ก่อนการติดตั้งท่านต้องจำลองเครื่องตัวเองเป็น Web Server ก่อน สามารถเลือก Web Server ตัวใดตัวหนึ่งตามลิ้งด้านล่างนี้
โปรแกรม ลิงค์ดาวน์โหลด
WM Server http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=80
AppServ http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=2
WAMP http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=58

1. ดาวน์โหลดตัวติดตั้งที่ http://www.cmsthailand.com หรือที่ http://www.atutor.ca/atutor/download.php

2. หลังการดาวน์โหลดมาให้ทำการแตกไฟล์ด้วย WinRAR หรือ Winzip


รูปแสดงโฟลเดอร์หลังการแตกไฟล์
ไดเร็กทอรี่ คำอธิบาย
C:\WM\www กรณีใช้ WMServer
C:\AppServ\www กรณีใช้ AppServ
C:\InetPub\wwwroot กรณีใช้ IIS
/var/www/html กรณีใช้ระบบ Linux เก็บที่พาทหลัก
/home/username/public_html กรณีใช้ระบบ Linux เก็บที่พาทของผู้ใช้ (โดยที่ไปบนโฮสต์ติ้งจะใช้พาทนี้)

ในที่นี้ทดสอบบนเครื่องตัวเองใช้ WMServer


รูปแสดงโฟลเดอร์ห้องเก็บตัวติดตั้ง
4. ทำการสร้างฐานข้อมูลสำหรับเก็บโปรแกรม ATutor ในที่นี้สร้างโดยใช้โปรแกรม phpMyAdmin (โดยทั่วไปบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือบนโฮสต์ติ้งเขามีบริการอยู่แล้ว)

สร้างฐานข้อมูลที่ต้องการเก็บ moodle ในที่นี้สร้างฐานข้อมูลชื่อว่า atutor

Note.
กรณีใช้บน Web Hosting จริงสามารถใช้ฐานข้อมูลที่ทางโฮสต์ติ้งให้มาหรือทำการสร้างใหม่ผ่านทาง Control Panel ที่ทาง hosting ให้บริการ
5. หลังการสร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้วก็เริ่มติดตั้งโดยการพิมพ์ URL ดังนี้
URL คำอธิบาย
http://127.0.0.1/atutor/install/ กรณีติดตั้งบนเครื่องตัวเอง
http://www.sitename.com/atutor/install/ กรณีสร้างเป็นไดเร็กทอรี่ย่อยลึกลงไปอีกชั้น
http://www.sitename.com/install/ กรณีสร้างเป็นพาทหลักเว็บไซต์
http://lms.sitename.com/install/ กรณีสร้างเป็น sub domain ชื่อว่า lms

Note.
ห้องสำหรับเป็นตัวติดตั้งสามารถตั้งเป็นชื่ออื่นได้ในที่นี้ทดสอบตั้งชื่อว่า atutor

6. คลิกที่ปุ่ม Install กรณีติดตั้งเป็นครั้งแรก

7. โปรแกรมรายงานลิขสิทธิ์โปรแกรม ของ ATutor เป็นชนิด GNU General Public License (GPL)
8. คลิกปุ่ม I Agree

9. ระบุรายละเอียดฐานข้อมูล MySQL
Database Hostname: ระบุชื่อโฮสต์เนมที่เก็บฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล กรณีทดสอบบนเครื่องตัวเองให้ใส่เป็น localhost
Database Port: พฮร์ตที่ใช้เชื่อต่อปกติเป็น 3306
Database Username: ชื่อผู้ใช้ กรณีทดสอบบนเครื่องให้ใช้เป็น root
Ttabase Password: รหัสผ่าน กรณีทดสอบบนเครื่องตนเองให้ปล่อยว่างไว้
Database Name: ชื่อฐานข้อมูล ในที่นี้ชื่อว่า atutor (ได้สร้างไว้ในข้อ 4)
Table Prefix: ให้ใช้ค่าเก่าเป็น AT_

10. หลังจากระบุเสร็จให้คลิกปุ่ม Next

13. ระบบรายละเอียดผู้ควบคุมเว็บ และรายละเอียดเพิ่มเติม
14. คลิกปุ่ม Next

15. ระบุรายละเอียดผู้ใช้(ชื่ออาจารย์ : Instructor) คนแรก
16. คลิกปุ่ม Next

17. โปรแกรมแสดงพาทในการเก็บเนื้อหาต่างๆ ชื่อว่า content

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

KM

การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งที่ย่อมาจากคำว่า “Knowledge Management”
Knowledge Management หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า KM นั้นก็คือแนวทางการบริหารแนวทางการทำงานภายในองค์กรเพื่อทำให้เกิดการนิยาม ความรู้ขององค์กรขึ้น และทำการรวบรวม, สร้าง, และกระจายความรู้ขององค์กรไปให้ทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้เกิดการต่อยอดของความ รู้, นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรขึ้น
คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

รูปแบบของความรู้ เป็นอย่างไรบ้าง ? รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
ขอบเขตและเป้าหมาย KM เป็นอย่างไรบ้าง ?
ก่อน ที่จะมีจัดการความรู้ หรือทำ KM จะต้องมีการกำหนดขอบเขต และเป้าหมาย KM ก่อน ซึ่ง ขอบเขต KM เป็นหัวเรื่องกว้างๆ ของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่น ดิน ซึ่งต้องการจะนำมากำหนดเป้าหมาย KM ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถใช้แนวทาง ในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย

KM เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กร ได้ 4 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 เป็นความรู้ที่จำเป็นและสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร
แนวทางที่ 2 เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เช่น ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ประสบการณ์ความรู้ที่สั่งสมมา
แนวทางที่ 3 เป็นปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ และสามารถนำ KM มาช่วยได้
แนวทางที่ 4 เป็นแนวทางผสมกันระหว่างแนวทางที่ 1 , 2 หรือ 3 หรือจะเป็นแนวทางอื่นที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม

CMS

ความหมายของ Content Management System (CMS)
ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์(Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์

ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ
การประยุกต์ใช้ CMS
ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มา
ประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การ
ธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า
>> การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ
ขององค์กร
>> การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้
เกิดความสามัคคี ทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง
>> การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา
>> การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร